หลักเกณฑ์ออกแบบระบบระบายอากาศในอุตสาหกรรมเบื้องต้น
การระบายอากาศจากอุตสาหกรรมเป็นการนำ
อากาศที่ปนเปื้อนออกจากพื้นที่ทำงานและนำอากาศที่สะอาดเข้ามาทดแทน
หากจะต้องเลือกใช้วิธีการระบายอากาศแล้วควรปรึกษาวิศวกรหรือบริษัทที่ปรึกษา
ที่มีประสบการณ์เรื่องการออกแบบและทดสอบประสิทธิภาพตลอดจนการบำรุงรักษาระบบ
ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบและทดสอบตลอดจนการบำรุงรักษาระบบควรได้รับการดูแลจากวิศวกรหรือ
บริษัทที่มีประสบการณ์และความรู้เป็นอย่างดี การออกแบบระบบระบายอากาศที่ดี
จะต้องมีลักษณะดังนี้
- สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ คือ ดูดมลพิษออกไปทางปล่อง โดยใช้ Hood หรือท่อ และทำให้คุณภาพอากาศภายในโรงงานมีความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน
- การดูดมลพิษต้องมีประสิทธิภาพ
คือใช้ดูดปริมาตรอากาศออกไปน้อยตรงจุดที่ได้ผลที่สุด เช่น
ในบริเวณที่ใกล้และครอบคลุมแหล่งกำเนิด
มีการสูญเสียพลังงานในระบบดูดอากาศน้อยที่สุด
เช่น ออกแบบท่อดูดในระบบ และปล่องต้องไม่มีข้องอมากหรือใช้ความเร็วลมที่สูงหรือต่ำเกินไป
การดึงอากาศเสียเฉพาะที่นั้นใช้หลักการว่าอากาศจะ เคลื่อนที่จากจุดที่มีความดันอากาศสูงไปยังที่มีความดันอากาศต่ำ ดังนั้นจึงต้องสร้างระบบที่มีความดันอากาศสูงและต่ำโดยใช้พัดลมที่ดูดอากาศ จึงทำให้บริเวณหน้าพัดลมมีความดันอากาศสูงกว่าหลังพัดลม และอากาศก็จะถูกดูดออกไปด้วยกำลังแรง (เหมือนเครื่องดูดฝุ่น)
ระบบดูดอากาศเสียประกอบด้วย
- ปากท่อหรือปาก “Hood” หรือบางครั้งเรียกตู้ดูดอากาศเสีย
- ท่อที่ใช้ส่งอากาศเสีย
- เครื่องหรืออุปกรณ์บำบัดมลพิษ
- พัดลมดูดอากาศ
- ท่อส่งออกหรือปล่องที่ระบายออกไปนอกอาคาร
Hood เป็นตัวอุปกรณ์ที่เก็บอากาศเสียจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งหรือใกล้แหล่ง กำเนิดให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ โดยอาศัยหลักการให้ความเร็วของอากาศที่ปาก Hood จะต้องมากพอที่จะนำมลพิษ เช่น ฝุ่นหรือก๊าซออกไปได้โดยเราเรียกความเร็วที่จำเป็นนี้ว่า “ความเร็วในการพา” หรือ Capture Velocity ดังนั้นในการออกแบบจะต้องทำให้ปากของ Hood มีขนาดเล็กเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพราะขนาดที่ใหญ่จะสิ้นเปลืองพลังงานมาก
ความเร็วในการพามีหน่วยเป็น เมตร / วินาที และปริมาตรอากาศที่ไหลผ่านปาก Hood คิดเป็น ลูกบาศก์เมตร / วินาที โดยวิธีคำนวณปริมาตรที่ไหลผ่านปาก Hood ดังนี้

รูปที่ 16 ระบบดูดอากาศเสียแบบง่าย
Vair = uhood xAhood
เมื่อ u hood = ความเร็วในการพาวัดได้ที่ปาก Hood (Hood Face Velocity) โดยเครื่องวัดความเร็วลมเป็น เมตร/วินาที
Ahood = พื้นที่หน้าตัดของ Hood คือ L x H เป็น ตารางเมตร Vair ปริมาตรอากาศที่ไหลผ่านปาก Hood ลูกบาศก์เมตร / วินาที
ี
จะเห็นได้ว่าปริมาตรอากาศที่ไหลผ่าน Hood กับไหลผ่านในท่อ และพัดลมทางขวามือย่อมจะเท่ากัน ดังนั้นหากจะวัดความเร็วลมในท่อและคูณกับพื้นที่หน้าตัดท่อก็จะได้ผลเท่ากัน ทั้งนี้เพราะการตรวจวัดที่ปาก Hood นั้นมักจะยากกว่าการวัดที่ในท่อมาก จึงอาจตรวจวัดในท่อแล้วมาคำนวณหาความเร็วลมที่ปาก Hood แทนก็ได้ หากตรวจวัดความดันอากาศในท่อเทียบกับอากาศภายนอกจะพบว่า อากาศในท่อจะมีความดันน้อยกว่าอากาศภายนอก ทราบได้เพราะหากมีรูรั่วที่บริเวณท่อตรงก่อนถึงพัดลม อากาศภายนอกจะไหลดันเข้าไปในรูรั่วนั้นและอากาศข้างในท่อจะไม่ไหลออกมา ในทางตรงกันข้ามเมื่ออากาศผ่านพัดลมไปสู่ปล่องแล้วความดันอากาศในปล่องจะสูง กว่าอากาศภายนอก และหากมีรูรั่วก่อนถึงปลายปล่อง อากาศในปล่องจะดันออกมาตามรูรั่วนั้นได้ ดังนั้นจึงนิยมติดตั้งพัดลมไว้นอกอาคารเพื่อที่ อากาศเสีย ในระบบจาก Hood และท่อภายในอาคารจะได้ไม่รั่วไหล แม้ว่าจะมีอุบัติเหตุทำให้เกิดรูรั่วก็ตาม
ความดันของอากาศมีหน่วยเป็นปาสคาลหรือเซนติเมตรของน้ำหรือนิ้วของน้ำ (หากเป็นแบบในประเทศสหรัฐอเมริกา) แต่ในที่นี้จะใช้หน่วยเมตริกเสมอ ( ปาสคาล )
ถึงแม้ว่าในการออกแบบเราจะพยายามที่จะให้ Hood ครอบคลุมแหล่งกำเนิดมลพิษให้มากที่สุด แต่ในความเป็นจริงก็อาจกีดขวาง การทำงานได้บางครั้งต้องทำให้ Hood “ยื่น” ออกไปดูดคล้ายๆ กับเครื่องดูดฝุ่นนั้นเอง แต่ Hood แบบนี้จะใช้พลังงานมากเพราะทุกระยะทางที่ห่างจากปาก Hood ( ระยะ “X”) ดังรูปจะใช้พลังงานเป็นกำลังสองของระยะทางที่เพิ่มขึ้นนี้ เช่น หาก “X” มีค่า 10 เซนติเมตร จะใช้พลังงานมากกว่าเมื่อ “X” มีค่า 5 เซนติเมตร ถึง 4 เท่าตัว ถ้าจะให้ความเร็วในการพาที่จุดนั้นเท่ากัน ในการออกแบบเราอาจประหยัดพลังงานได้หากมีการเติมที่กั้นทางใดทางหนึ่ง เพื่อให้อากาศที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ไหลเข้ามาใน Hood มากนักและเพิ่มความเร็วให้กับอากาศที่ต้องการได้

รูปที่ 17 จุดที่จะดูดมลพิษอยู่ใกล้ ๆ ปากตู้ดูดอากาศมากที่สุด
ปกติตู้ดูดอากาศเสียจะมีลักษณะเป็นรูป
ทรงครอบแหล่งกำเนิด เป็นรูปปิรามิด หรือรูปกรวยคว่ำ
และการออกแบบต้องคำนวณให้ได้ปริมาณอากาศที่ดูดให้น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้
ในขณะที่ต้องมีประสิทธิภาพในการดูดมลพิษทางอากาศอย่างได้ผล ดังนั้น
จึงต้องทำให้ตู้ดูดอากาศเสียนี้สามารถเร่งความเร็วของอากาศที่จะไหลเข้าไป
ให้เพียงพอที่จะดึงมลพิษทางอากาศเข้าไปได้
ความเร็วนี้จะขึ้นกับขนาดของฝุ่นละอองและก๊าซ
หากฝุ่นละอองมีขนาดใหญ่จะต้องใช้ความเร็วในการดึงสูงและมีการออกแบบให้ฝุ่น
ละอองเข้าไปในตู้ดูดอากาศเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
ตู้ดูดอากาศเสียที่ดีจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานมีความปลอดภัยและทำให้
เกิดความสะอาดด้วย
ประเภทของตู้ดูดอากาศเสียจะถูกแบ่งตามรูปร่างของตู้
ดูดอากาศเสียและลักษณะการดูดมลพิษทางอากาศของตู้ดูดอากาศเสียนั้น ๆ
โดยสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้คือ - ตู้ดูดอากาศเสียแบบปิดได้ (Enclosed Hood):- ตู้ ดูดอากาศเสียประเภทนี้ จะง่ายต่อการก่อสร้าง ไม่ขัดขวางการทำงาน และสามารถควบคุมอัตราการไหลของอากาศเสียด้วยอัตราต่ำที่สุดได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุด ตู้ดูดอากาศเสียแบบปิดได้เหมาะสำหรับนำไปใช้กับห้องปฎิบัติการ ห้องสเปรย์สี เป็นต้น
- ตู้ดูดอากาศเสียแบบแขวน (Free-Hanging Plain Openings):- ตู้ ดูดอากาศเสียประเภทนี้ จะมีช่องเปิดเป็นรูปกลม หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวมากกว่า 0.3 ตู้ดูดอากาศเสียแบบแขวนเหมาะสำหรับแหล่งกำเนิดมลพิษแบบจุดหรือบริเวณพื้นที่ เล็ก ๆ และในบริเวณที่ไม่สามารถใช้ตู้ดูดอากาศเสียแบบปิดได้ เช่น การเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า การบัดกรี เป็นต้น
- ตู้ดูดอากาศเสียแบบแขวนและช่องเปิดแคบแบบ Slot (Free-Hanging Slot Openings):- ตู้ ดูดอากาศเสียประเภทนี้ เหมาะสำหรับแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่มีพื้นที่สำหรับดูดอากาศเสียใน ลักษณะแคบและยาว และ Slot จะมีอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวเท่ากับหรือน้อยกว่า 0.3
- ตู้ดูดอากาศเสียแบบระบายอากาศเสียทางด้านข้าง (Lateral Ventilation):- การ ออกแบบตู้ดูดอากาศเสียประเภทนี้ ) จะใช้ Slot ตลอดหนึ่งด้านหรือสองด้านของถังหรือโต๊ะและอาจจะมีการใช้ด้านท้ายของตู้ดูด อากาศเสียตลอดด้านหนึ่งของถังหรือโต๊ะด้วยก็ได้ ถ้าเป็นไปได้ Slot ควรวางในตำแหน่งแนวยาวของถังหรือโต๊ะ ตู้ดูดอากาศเสียประเภทนี้เหมาะสำหรับการทำงานที่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศ ณ พื้นผิวลักษณะแบนราบหรือมีการปล่อยมลพิษทางอากาศทันทีทันใดเหนือพื้นผิว ลักษณะแบนราบ เช่น การชุบ Degreasing การจุ่มสี เป็นต้น
- ตู้ดูดอากาศเสียแบบดูดลงข้างล่าง (Downdraft):- ตู้
ดูดอากาศเสียประเภทนี้ มีตะแกรงอยู่ด้านบน ตู้ดูดอากาศเสียแบบดูดลงข้างล่าง
(Downdraft)
เหมาะสำหรับการทำงานที่มีอากาศไหลลงผ่านแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น
การเชื่อม การบัดกรี การขัดละเอียด การพ่นสี เป็นต้น
ประสิทธิภาพของตู้ดูดอากาศนี้จะลดลงอันเนื่องมาจากอากาศไหลตัดขวางและอากาศ
ร้อนไหลขึ้นข้างบน
จึงมักจะใช้ตู้ประเภทนี้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถใช้ตู้ดูดอากาศเสียประเภทอื่นได้ - ตู้ดูดอากาศเสียแบบแขวนคลุมไว้ด้านบน (Canopy):- ตู้ ดูดอากาศเสียประเภทนี้ มีลักษณะเหมือนฝาครอบแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศและมีท่อดูดอากาศต่อที่ข้างบน ของตู้ดูดอากาศเสีย การออกแบบเช่นนี้เหมาะสมกับงานที่ผลิตอากาศร้อน เช่น เตาหลอม เพราะอากาศร้อนจะไหลขึ้นข้างบนและนำมลพิษทางอากาศขึ้นไปด้วย การออกแบบจะต้องให้มีกระแสอากาศที่ไม่ปั่นป่วน จึงมักจะให้ตู้ดูดอากาศเสียนี้มีลักษณะที่แคบเข้าเรื่อยๆ จนถึงท่อดูดอากาศ ( มุมอยู่ระหว่าง 30°C ถึง 45°C)

รูปที่ 18 ตัวอย่างของการดูดอากาศเสียที่ระเหยจากถังโดยตู้ดูดอากาศเสียแบบแขวนคลุมไว้ด้านบน (Canopy)
1.1 ข้อมูลในการออกแบบตู้ดูดอากาศ การออกแบบจะต้องให้ความเร็วลมที่จุดตำแหน่งของมลพิษ เช่น บริเวณที่ไอระเหยขึ้นมาจากถังหรือบริเวณพ่นสี มีความเร็วเพียงพอที่จะพามลพิษนั้นๆ ( รวมทั้งอากาศที่มลพิษปนเปื้อนอยู่ ) ไหลเข้ามาในตู้ดูดอากาศได้ ความเร็วที่เพียงพอนั้นกำหนดไว้ดังนี้
ตารางที่ 8 ช่วงของค่า Capture Velocity
ลักษณะการแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศ |
ตัวอย่าง
|
Capture Velocity
(เมตร/วินาที) |
การปล่อยมลพิษทางอากาศโดยปราศจากความเร็วเข้าไปในอากาศที่หยุดนิ่ง | การระเหยออกจากถัง จากกระบวนการ Degreasing เป็นต้น |
0.254-0.508
|
การปล่อยมลพิษทางอากาศด้วยความเร็วต่ำเข้าไปในอากาศที่นิ่งพอสมควร | ห้องสเปรย์ การเชื่อม และการชุบ |
0.508-1.016
|
การกำเนิดมลพิษทางอากาศโดยปล่อยให้เข้าไปในบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวของอากาศอย่างรวดเร็ว | การพ่นสีในห้องสเปรย์ที่มีลักษณะตื้น การเติมน้ำมัน |
1.016-2.54
|
สูตรที่ใช้ในการคำนวณ คือ
สมการตามสูตรนี้ใช้ได้กับตู้ดูดอากาศที่ปากตู้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากปากตู้เป็นรูปวงกลมใช้การคำนวณพื้นที่เปิดของปากตู้ (A) เท่ากับ pr2 เมื่อ r เป็นรัศมีของปากตู้เป็นเมตร และ Q = V (10x2 + A)Q = V (4 px2 ) = 12.57 Vx2เมื่อ Q = ปริมาณอากาศที่ตู้ดูดอากาศจะต้องดูด เป็นลูกบาศก์เมตร / วินาที
V = ความเร็วลมในการพามลพิษ ณ จุดที่มีมลพิษ เป็นเมตร / วินาที
x = ระยะทางจากตำแหน่งมีมลพิษถึงปากตู้ดูดอากาศ เป็นเมตร
4¶x2 = พื้นที่ทรงกลมของรัศมีการดูดที่ความเร็ว V
ในบางครั้งด้วยเหตุที่มีพื้นที่จำกัด
หรือเพื่อความเหมาะสมอย่างอื่นทำให้ต้องใช้ปากตู้ดูดอากาศที่มีลักษณะแคบมาก
ถ้าอัตราส่วนความกว้างต่อความยาว (W/L) ของปากตู้มีค่าน้อยกว่า 0.2
เรียกว่า Slot Hood ซึ่งจะให้ความเร็วลมสูง
แต่จะมีการสูญเสียพลังงานมากกว่าปกติเช่นกัน
1.2 การสูญเสียพลังงานของตู้ดูดอากาศ
ตู้ดูดอากาศจะสูญเสียพลังงานเนื่องจากขณะที่อากาศไหล
เข้าปากตู้จะมีการเปลี่ยนแปลงความดันสถิตย์เป็นความดันของความเร็ว ( จาก SP
เป็น VP) แต่เมื่อเข้าไปในท่อแล้ว VP จะลดลงสู่ระดับคงที่
การสูญเสียพลังงานยังเกิดจากการที่อากาศแย่งกันเข้าซึ่งมีการเร่งความเร็วใน
ช่วงแรกและเมื่ออากาศเข้าไปในท่อแล้วความเร็วจะลดลง และคำนวณได้ดังนี้ ความสูญเสีย SPh= he + VPd
SPh= (Fs ) (VPs ) + (Fd ) (VPd ) + VPd (4.6)
เมื่อ he = hs + hd หมายถึง การสูญเสียพลังงานเนื่องจาก Hood หน่วยเป็นปาสคาล
hs = (Fs) (VPs ) หมายถึง การสูญเสียเนื่องจาก Slot
h d = (Fd ) (VPd ) หมายถึง การสูญเสียเนื่องจากอากาศแย่งไหลเข้าท่อ
Fs = สัมประสิทธิ์การสูญเสียของ Slot ( ไม่มีหน่วย )
Fd = สัมประสิทธิ์การสูญเสียของการที่อากาศไหลเข้าท่อ ( ไม่มีหน่วย )
VPs = ความดันของความเร็วลมที่ Slot มีหน่วยเป็นปาสคาล
VPd = ความดันของความเร็วลมที่ท่อมีหน่วยเป็นปาสคาล
ตัวอย่างของการคำนวณการสูญเสียของตู้ดูดอากาศ
ตู้ดูดอากาศแบบธรรมดามีช่องเปิดขนาด 1 x 1.5 เมตร และความเร็วลมที่ปาก Hood เท่ากับ 1.25 เมตรต่อวินาที ท่อดูดอากาศที่ต่อจากตู้นี้มีความเร็วลมในท่อ 15 เมตร / วินาที จะคำนวณ
- อัตราการไหลของอากาศ (Q) ที่ผ่านตู้ดูดอากาศและท่อ
- คำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อดูดอากาศ
- คำนวณความดันลดซึ่งเกิดจากตู้ดูดอากาศนี้
ในส่วนที่ 2 : ใช้สูตรเหมือนการคำนวณในส่วนที่ 1 เพราะทราบอัตราการไหล (Q) และความเร็วลมในท่อ ซึ่งโจทย์ให้ค่าเป็น 15 เมตร / วินาที เพราะฉะนั้นพื้นที่หน้าตัดของท่อ = 1.875/15 = 0.125 ตารางเมตร
หาก D เป็นเส้นผ่าศูนย์กลางท่อเป็นเมตร (pD2)/4 = 0.125
D =
= 0.4 เมตร

ในส่วนที่ 3 : ใช้สูตรข้างบนแต่ต้องทราบค่า Fd ของท่อซึ่งจะมีค่าประมาณ 0.25 โดยทั่วไป ต้องเปลี่ยนความดันของความเร็วในท่อเป็น VPd = (15/1.29)2 = 135.21 ปาสคาล และความดันของความเร็วลมที่ปาก Hood เป็น VPs = (1.25/1.29)2 = 0.94 ปาสคาล โดยใช้สูตร VP=( V /1.29)2
จะเห็นได้ว่า VPd มีค่าสูงกว่า VPs มาก ซึ่งในการออกแบบทั่วไปก็มักจะเป็นเช่นนี้ ยกเว้นกรณีที่ใช้ปาก Hood แคบจนเป็นลักษณะ Slot ซึ่งความเร็ว Slot จะมีค่าสูงกว่า 5 เมตร/วินาทีขึ้นไป จึงจะมีค่าใกล้เคียงกัน ในการคำนวณทั่วไปจึงพบว่ามักจะละเลยค่า (Fs) (VPs ) เพราะมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ VPd
\ SPh = (Fd) (VPd) + VPd = (0.25 x 135.21) + 135.21 = 169.01 ปาสคาล

ในรูปนี้จะเห็นว่า Slot จะทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานพอสมควรและจะละเลยมิได้ หากโจทย์กำหนดให้ความเร็วลมที่ผ่าน Slot มีค่า 10 เมตร/วินาที
VPs = (10/1.29)2 = 60 ปาสคาล
ค่า Fs ของ SLOT โดยทั่วไปจะมีค่าระหว่าง 1 ถึง 1.78 ซึ่งในการคำนวณจะใช้ค่าสูงสุดก็ได้
SPh = (Fs) (VPs) + (Fd) (VPd) + VPd
= (1.78) (60) + (0.25) (135.21) + 135.21 = 275.8 ปาสคาล
2. ท่อ
ท่อเป็นอุปกรณ์นำอากาศไปข้างนอกและควรมี
แรงต้านทานการไหลของอากาศได้น้อยที่สุดและมีความเร็วของอากาศในท่อที่เหมาะ
สมด้วย
หากความเร็วของอากาศในท่อน้อยเกินไปฝุ่นละอองก็ตกค้างในท่อและทำให้ปิดกั้น
อากาศได้
ส่วนอากาศที่ไหลเข้าไปมากก็สิ้นเปลืองพลังงานทำให้เกิดเสียงดังและความสั่น
สะเทือน และฝุ่นที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วอาจกัดกร่อนได้มากขึ้น
2.1 หลักการออกแบบระบบท่อ (Duct Design) เบื้องต้น
ท่อดูดอากาศ (Duct)
จากตู้ดูดอากาศไปสู่พัดลมและจากพัดลมไปภายนอกในรูปของปล่อง (Stack)
การออกแบบที่เหมาะสม คือ
ให้ความเร็วของอากาศในท่อทุกส่วนเร็วเท่ากันหมดเพื่อมิให้เกิดการตกตะกอนของ
ฝุ่นหรือสูญเสียพลังงานในการเร่งความเร็วของอากาศโดยไม่จำเป็น
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ
ให้มีการสูญเสียจากการไหลของอากาศในท่อให้น้อยที่สุด โดยไม่ใช้ข้องอ ท่อลด
ท่อขยาย หรือสิ่งกีดขวางการไหลโดยไม่จำเป็น
ปัจจุบันความนิยมในการออกแบบคือ
ใช้พัดลมตัวเดียวและท่อดูดอากาศจากหลายๆ จุดมารวมกันออกทางปล่องระบายรวม
(Common Stack) เพียงอันเดียว การออกแบบนี้ก็คือต้อง Balance ทุกๆ
ท่อสาขาให้เท่าเทียมกันคือในแต่ละสาขาจะต้องมีการสูญเสียพลังงานเท่าๆ กัน
หากท่อสาขาใดสูญเสียพลังงานมากกว่าสาขาอื่นๆ
ลมก็จะผ่านสาขานั้นด้วยความเร็วที่ต่ำกว่าท่อสาขาอื่นๆ
หรืออาจไม่ผ่านเลยก็ได้
ค่าความเร็วต่ำที่สุดที่ใช้ในการออก
แบบท่อระบายอากาศเสียแล้วไม่ทำให้อนุภาคตกตะกอนและอุดตันท่อระบายอากาศเสีย
ได้แสดงไว้ข้างล่าง การออกแบบท่อระบายอากาศเสียโดยใช้ความเร็วลมสูงๆ
จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและทำให้ท่อระบายอากาศเสียสึกกร่อนอย่างรวดเร็ว
ตารางที่ 9 ค่าความเร็วที่ใช้ในการออกแบบท่อระบายอากาศเสีย
ประเภทและขนาดของฝุ่นละออง
|
ค่าความเร็วต่ำสุด ( เมตร / วินาที )
|
ก๊าซหรือฝุ่นละอองขนาดละเอียดมากและเบา (ขนาดแป้งทาหน้า) |
12.7
|
ฝุ่นละอองขนาดละเอียด แห้ง และเป็นผง |
15.2
|
ฝุ่นละอองขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปจากอุตสาหกรรม |
17.8
|
ฝุ่นละอองขนาดหยาบ |
20.3-22.9
|
ฝุ่นละอองที่มีน้ำหนักมากหรือเปียกชื้น (เช่น ผงทราย) | ![]() |
2.2 ตัวอย่างการคำนวณความสูญเสียในระบบท่อ
ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร ทำด้วยเหล็กชุบสังกะสีความยาว 100 เมตร มีข้องอชนิดต่อ 7 ชิ้น และค่ารัศมีการโค้ง / เส้นผ่าศูนย์กลาง = R/D = 2.00 จำนวน 2 ข้องอ จะมีความสูญเสียในท่อเท่าใดหากความเร็วลมในท่อเท่ากับ 20 เมตร / วินาที
ท่อตรงยาว 100 เมตร จะสูญเสียด้วยสัมประสิทธิ์ 0.2376 x 100 = 23.76 (ค่า 0.2376 เป็นค่าที่สมมุติว่าจะได้จากผู้ผลิตหรือเอกสารอ้างอิงอื่นๆ ซึ่งขึ้นกับวัสดุที่ใช้ทำท่อ)
ความสูญเสียคิดเป็นปาสคาลต้องคูณสัมประสิทธิ์ด้วย VPd
VPd = (20/1.29)2 = 240.4 ปาสคาล
ความสูญเสีย = 23.76 x 240.4 = 5711.2 ปาสคาล
ความสูญเสียคิดเป็นปาสคาล ต้องคูณสัมประสิทธิ์ด้วย VPd
VPd = (20/ 1.29)2 = 240.4 ปาสคาล
ความสูญเสีย = 23.76 x 240.4 = 5711.2 ปาสคาล
ส่วนของข้องอดูจากเอกสารอ้างอิงหรือผู้ผลิตเช่นกัน พบว่าสัมประสิทธิ์การสูญเสียความดันของข้องอเท่ากับ 0.17
ความสูญเสียความดัน =0.17 x 240.4 = 40.8 ปาสคาล ต่อ 1 ข้องอ
รวมการสูญเสียความดันทั้งหมด =5711 + (40.8 x2 ) = 5,792.8 ปาสคาล
ในระบบระบายอากาศที่มีหลายสาขาให้คำนวณ
ความสูญเสียของแต่ละท่อสาขาก่อน
และทำให้ความสูญเสียเท่ากันหรือใกล้เคียงกันที่สุดก่อน
หากการสูญเสียไม่เท่ากันจะต้องเพิ่มความสูญเสียของท่อที่น้อยกว่า เช่น ใช้
Gate ปิดกั้นบางส่วนของท่อหรือใช้ท่อที่เล็กลง เป็นต้น
เมื่อคำนวณความสูญเสียได้ใกล้เคียงกัน
แล้วให้นำค่าความสูญเสียนั้น ( ของท่อสาขาเดียว )
มาคำนวณความสูญเสียที่จุดร่วม
นำไปคำนวณกำลังของพัดลมซึ่งพัดลมนอกจากจะต้องมีกำลังเพียงพอสำหรับเอาชนะ
ความสูญเสียจากท่อที่ผ่านมาทั้งหมดแล้ว
ยังต้องคำนวณสำหรับการดันอากาศออกไปทางปล่องด้วย
ซึ่งก็มีความสูญเสียบ้างเหมือนกัน
หากในระบบระบายอากาศมีอุปกรณ์บำบัดอากาศเสีย
ก็จะต้องบวกความสูญเสียจากอุปกรณ์เหล่านั้นเข้าไปด้วยตามที่ผู้ผลิตอุปกรณ์
จะระบุไว้ให้ 3. ระบบบำบัดมลพิษ
เช่น ระบบบำบัดกลิ่น (ดูรายละเอียดในแต่ละชนิด)
4. พัดลม
พัดลมต้องมีกำลังที่เหมาะสมในการสร้าง “ความดันอากาศ” ที่แตกต่างกันจนเพียงพอที่จะทำให้มลพิษถูกดึงเข้ามาและออกจากระบบได้
พัดลมมีประเภทหลักๆ อยู่ 2 ชนิด คือ
ชนิด Axial และ Centrifugal (หอยโข่ง) โดยแบบ Axial
จะมีลักษณะเหมือนใบพัดจะดึงอากาศผ่านเข้าไปโดยตรง ส่วน Centrifugal
จะเหมือนกงล้อซึ่งดูดอากาศเข้าไปในแกนกงล้อและปั่นอากาศออกทางมุมฉาก
พัดลมทั้งสองประเภทนี้มีการใช้งานตามความเหมาะสมที่แตกต่างกัน
พัดลมแบบ Axail
ใช้มากในการดึงอากาศบริสุทธิ์เข้ามาเจือจางโดยติดไว้ที่กำแพงหรือหลังคา
สามารถดึงอากาศได้เป็นจำนวนมากหากไม่มีแรงต้านมากนัก พัดลมแบบ Centrifugal จะทนต่อแรงต้านสูงๆ จึงสามารถดึงอากาศผ่านระบบ Hood และท่อได้ดี โดยคัดเลือกพัดลมที่เหมาะกับการทำงาน เช่น แบบใบพัดชนิด Radial Blade จะทนต่อฝุ่นปริมาณมากๆ และไม่ค่อยอุดตันเมื่อมีฝุ่น
5. ปล่องระบาย
ปล่องระบายต้องอยู่ห่างจากจุดที่อากาศบริสุทธิ์จะถูก ดึงเข้าไปในอาคาร เช่น อย่างน้อย 16-20 เมตร และหากอยู่บนหลังคาต้องสูงจากหลังคาอย่างน้อย 3-4 เมตร เพื่อป้องกันมิให้อากาศที่ระบายออกม้วนกลับลงทางชายคาอาคาร ความเร็วลมที่ออกจากปล่องอย่างน้อยควรเป็น 15 เมตรต่อวินาทีเป็นอย่างน้อย และหมวกที่ปิดปลายปล่องก็ไม่ควรมีเพราะจะไปปิดกั้นการพุ่งขึ้นของอากาศเสีย และประสิทธิภาพของหมวกในการกันน้ำฝนสามารถใช้การออกแบบอย่างอื่นได้แทน
ข้อควรระมัดระวังในการออกแบบและใช้งานระบบระบายอากาศ
- การออกแบบที่มักจะมีข้อผิดพลาดมากที่สุดคือการออกแบบตู้ดูด อากาศ โดยเฉพาะตู้แบบแขวน (Canopy) เพราะมีประสิทธิภาพต่ำ แต่เป็นที่นิยมกันมาก ส่วนปัญหาที่พบมากอีกข้อหนึ่งคือการต่อท่อดูดอากาศเพิ่มเข้าไปใบระบบ ทำให้ประสิทธิภาพของทั้งระบบลดลงจากที่ออกแบบไว้เดิม
- การป้องกันการระเบิดและไฟไหม้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบ และใช้งานของท่อ ท่อซึ่งไม่เป็นโลหะอาจสะสมไฟฟ้าสถิตและควรมีสายดินต่อเชื่อมภายในของท่อ ท่อบางชนิดเช่น FRP ผู้ผลิตอาจผสมเส้นใยคาร์บอนไว้เพื่อให้ทำหน้าที่สายดิน นอกจากนั้นฝุ่นบางชนิด เช่นแป้ง อาจจะระเบิดได้เมื่อมีประกายไฟหรืออาร์คจากไฟฟ้าสถิตในท่อ ดังนั้นหากมีความเสี่ยงดังกล่าวก็อาจออกแบบประตูความดันฉุกเฉิน (Vent) เพื่อรองรับการระเบิดไว้ด้วย
- เมื่อติดตั้งระบบระบายอากาศเสร็จแล้วต้องทดสอบก่อนใช้งาน และปรับแต่งแก้ไขจุดเล็กๆน้อยๆให้เรียบร้อยก่อนใช้งานจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น